Thursday, March 17, 2011

การอ่าน

                      การอ่านเป็นทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจพบเห็นได้หลายรูปแบบ เช่น การอ่านหนังสือ แผนที่ แผนภูมิ รูปภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ โน้ตดนตรี การแสดงท่าทางต่างๆ หรือแม้แต่การอ่านอักษรเบรล ของคนตาบอด การอ่านริมฝีปาก หรือการอ่านความคิด นักภาษาศาสตร์ให้คำนิยามของการอ่านไว้หลากหลาย ซึ่งสามารถแยกออกมาได้ในสองประเด็น ( อุทัย ภิรมย์รื่น. 2543: 37) ประเด็นแรกคือ การอ่านเป็นการถอดรหัสภาษา โดยรับรู้ภาษาที่อ่าน แล้วให้ความหมายที่เหมาะสมเพื่อถอดรหัสที่ได้ถูกจัดเรียงไว้เพื่อแทนคำพูด

Saturday, November 27, 2010

บันทึกการเรียนรู้หลังสอนวันที่ 27/11/53

วันนี้ได้เรียนรู้การปรับปรุงบล็อกของตนเอง และได้เพิ่มเต็มทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยของตนเองเพิ่มเติม สนุกดีค้าๆๆๆ

Saturday, November 20, 2010

มาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน

มาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน

ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสอนอ่าน

ทฤษฏีสกีมากับการสอนอ่าน
                    แม็คแคย์ (Mckay. 1987:18-20) รูบิน (Rubin. 1991:12) วิสาข์  จิตวัตร์ (2543:20) ได้กล่าวโดยสรุปถึงทฤษฎีสกีมา (Scheme Theory) ว่าเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึง
1. วิธีการจัดระเบียบความรู้ใหม่เข้าในสมองของเรา
2. วิธีการรับเอาความรู้ใหม่เข้าไปรวมกับความรู้เดิม
3. วิธีกรแก้ไขความรู้เดิมให้เหมาะสม
                    Scheme หมายถึง การบรรยายเกี่ยวกับกลุ่มของความรู้ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างความรู้ที่ผู้อ่านมีอยู่เดิมแล้ว (Schemata) หรือ Frameworks หรือ Knowledge Structuress ที่เรียงรายกันอยู่เป็นระดับชั้น จัดอยู่เป็นกลุ่มตามคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โครงสร้างความรู้เดิมเหล่านี้เปรียบเสมือนพิมพ์เขียว แผนงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมี Schemes ทำหน้าที่ผนึกข้อความที่ผู้รับเข้าไปไว้ร่วมกัน
                    กลุ่มโครงสร้างความรู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการอ่าน คือ เป็นสิ่งชี้นำเรื่องให้กับผู้อ่านและจัดโครงสร้างเรื่องไว้สำหรับเรื่องใหม่ ในขณะที่ผู้อ่านระลึกเรื่องและเรื่องเหล่านี้จะถูกนำไปบรรจุไว้ในโครงร่างหรือโครงสร้าง (Schemata) อยู่ภายใต้โครงสร้างที่จัดไว้
                    โครงสร้างความรู้เดิม (Schemata) เหล่านี้สร้างขึ้นมาจากประสบการณ์เดิมของผู้อ่านและเป็นเครื่องช่วยชี้แนะผู้อ่านในขณะที่ต้องการเข้าใจสิ่งต่างๆ ทั้งยังช่วยผู้อ่านจะอ่านคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเรื่องด้วย ผู้อ่านจะนำโครงสร้างความรู้เดิมนี้ไปใช้ประกอบการอ่านเรื่องซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเข้าใจมากกว่าโครงสร้างทางภาษา (Language Structure) และกระบวนการภาษาที่ใช้ในข้อเขียนแต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการอ่านต้องประกอบขึ้นด้วยความรู้ทางภาษา (Linguistic Knowledge) ความรู้ทั่วไปและปริมาณที่ความรู้เดิมเหล่านั้นถูกกระตุ้นให้ทำงานที่กระบวนการทางสมองกำลังดำเนินการอยู่
                    โครงสร้างความรู้เดิม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1.     โครงสร้างความรู้เดิม แบบรูปนัย (Formal Schemata) หมายถึง การที่ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะลีลาการเขียนและโครงร่างของเรื่องมาก่อน เช่น การเขียนเชิงบรรยาย นิทาน วิทยาศาสตร์ หนังสือพิมพ์ ถ้าผู้อ่านมีลักษณะไวต่อลักษณะโครงสร้าง การเขียนและรู้จักใช้ความรู้เดิมเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ในขณะที่อ่าน จะช่วยได้อย่างมากทางด้านความเข้าใจและความทรงจำ ลักษณะการเขียนของเรื่องราวต่างๆ จะแตกต่างกันไปและมักจะมีลักษณะโครงสร้างการเขียนเฉพาะแต่ละรูปแบบ เช่น นิทาน การบรรยาย การพรรณนา เป็นต้น และในบรรดาโครงสร้างการเขียนทั้งหมด โครงสร้างเกี่ยวกับการเขียนเชิงบรรยาย (Narrative Scheme) มาแล้วการอ่านจึงไม่มีปัญหา
2.    โครงสร้างความรู้เนื้อหา (Content Schemata) การที่ผู้อ่านมีความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องในสาขาวิชาหนึ่งมาก่อน เช่น เศรษฐกิจ การแพทย์ ธุรกิจ เป็นต้น จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจดีขึ้น ผู้อ่านที่มีโครงสร้างความคิด แขนงนี้จะรับรู้เรื่องได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ ความรู้เนื้อหาเหล่านี้มาก่อน
                        ผู้อ่านจะต้องมีโครสร้างความรู้ทั้งสองประเภท เพราะการมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องทีอ่านมาก่อนจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเดาเรื่องได้ดีขึ้น และถ้ามีความรู้เดิมเกี่ยวกับรูปลักษณะการเขียนที่ดีก็ย่อมได้เปรียบเพราะประสิทธิภาพการอ่านจะต้องแปรไปตามลักษณะประโยคอนุเฉทและการจัดระเบียบการเขียนเรื่องหรือถ้าผู้อ่านมีความรู้หรือภูมิหลังในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงทางดานเนื้อหาก็จะสามารถอ่านบทอ่านที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจกว่าผู้ที่ไม่มีภูมิหลังมาก่อนเลย (http : iteslj.org/Articlex.Stott-Schema.html)
                        ดังนั้นผู้อ่านควรจะมีโครงสร้างความรู้ทั้งสองประเภท เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในการอ่านได้ดียิ่งขึ้น
                        จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า ความรู้เดิมของผู้อ่านที่เกี่ยวกับเนื้อหาและรูปแบบของงานเขียนมีอิทธิพลต่อการอ่านของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ความรู้เดิมเหล่านี้มีประโยชน์ ในการคาดคะเน ตีความและสรุปความของข้อมูลใหม่เพื่อที่จะปรับข้อมูลให้เข้ากับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วในตัวผู้เรียน แล้วเก็บข้อมูลนั้นไว้ใช้ต่อไป ความสามารถของผู้เรียนในการนำความรู้เดิมมาคาดคะเนข้อมูลใหม่ได้ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้เรียนอ่านเรื่องนั้น ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ๆ โดยยึดสิ่งที่รู้แล้วหรือความรู้เดิมเป็นหลักแล้ว ในการทดสอบากรคาดคะเนในขณะทีอ่านเนื้อเรื่องนั้น ๆ

ทฤษฏีทางจิตภาษาศาสตร์
                ทฤษฎีทางจิตภาษาศาสตร์ ((Psycholinguistics) เป็นการนำทฤษฎีทางจิตภาษาศาสตร์มาใช้อธิบายกระบวนการอ่าน ซึ่งมีจุดเน้น 3 ลักษณะ ได้แก่
1.     มองภาษากับการอ่านเป็นเรื่องเดียวกัน (Reading is language) การอ่านภาษาใดก็ต้องใช้ระบบของภาษานั้น ผู้อ่านจึงจะเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือเอาไว้
2.     ผู้อ่าน คือ ผู้ใช้ภาษา (Reading are users of language) ผู้อ่านเป็นผู้ใช้กระบวนการในการทำความเข้าใจโดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ ผู้อ่านจะใช้ตัวชี้แนะต่าง ๆ ในการทำความเข้าใจ ซึ่งได้แก่ ตัวชี้แนะภายในคำพูด ตัวชี้แนะในตัวภาษา ตัวชี้แนะจากตัวผู้อ่านเอง และตัวชี้แนะจากภายนอก ดังนั้น จุดเน้นในการอ่านจึงอยู่ที่
            ตัวภาษาที่อ่าน
 กระบวนการค้นคว้าความหมายของผู้อ่าน โดยการสุ่มตัวอย่าง การคาดคะเนข้อความที่อ่าน การทดสอบ โดยใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ การย้ำเพื่อความมั่นใจ และการแก้ไขเมื่อมีความจำเป็นในกรณีที่คาดการคาดคะเน และการทดสอบผิดพลาด
            เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาความหมาย ซึ่งได้แก่ ตัวชี้แนะต่างๆ
                        3.  ภาษาเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสาร (Language is a tool for communication) ผู้อ่านจะใช้ระบบของตัวชี้แนะภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการอ่าน ซึ่งได้แก่
                               3.1  ระบบชี้แนะทางรูปคำและเสียง (Graphophonic Cueing System)
                               3.2  ระบบตัวชี้แนะทางไวยากรณ์ (Syntactic Cueing System)
                               3.3  ระบบความชี้แนะทางความหมาย (Semantic Cueing System)
                        จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า  ภาษาเป็นเครื่องมือที่ผู้อ่านจะใช้เป็นตัวชี้นำไปสู่ความเข้าใจจากสิ่งที่อ่าน ดังนั้นหากผู้อ่าน ๆ ด้วยภาษาที่ตรงกับเรื่องที่อ่านควบคู่กับการใช้ความรู้เดิมก็จะทำให้เข้าใจในสิ่งที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น

ทฤษฎีโครงสร้างความรู้
ทฤษฎีโครงสร้างความรู้  (Schema Theory) เป็นทฤษฎีอธิบายเกี่ยวกับการอ่าน คือ การอ่านที่ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ก็ต้องอาศัยความรู้เดิมของผู้อ่านมาปฏิสัมพันธ์กับบทอ่าน การทำความเข้าใจคำ ประโยค หรือบทอ่าน เป็นเพียงความเข้าใจที่ใช้ความรู้ทางภาษาศาสตร์เท่านั้น
สำหรับกระบวนการตีความแปลความ และสรุปความต้องอาศัยหลักการคิด โดยนำสิ่งที่อ่านมาคิดพิจารณามากับความรู้เดิมโดยอาศัยกระบวนการทางสมองที่ผู้อ่านมีโครงสร้างความรู้เดิมมาช่วย ทั้งนี้ ได้แบ่งชนิดของโครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับการอ่านไว้ 2 ลักษณะ คือ
1.     โครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับรูปแบบ (Formal Schemata) คือ โครงสร้างของงานเขียนที่เป็นลักษณะต่างๆ กัน เช่น นิทาน บทความ บทกลอน เป็นต้น
2.       โครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อหา (Content Schemata) คือ โครงสร้างความรู้เดิมที่เกี่ยวกับเนื้อหาของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
                        จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า  ผู้อ่านจะเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ก็จะต้องอาศัยความรู้เดิมของผู้อ่านมาช่วยเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจจากเรื่องที่อ่าน และสามารถแปรความ ตีความ และสรุปความจากสิ่งที่อ่านได้


ทฤษฎีการสอนอ่านอย่างเป็นธรรมชาติ
ทฤษฎีการสอนอ่านอย่างเป็นธรรมชาติ (Natural Approach) เป็นทฤษฎีที่เน้นการให้ปัจจัยป้อนเข้า (Comprehensible Input) โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน (Process) ที่เหมาะสมกับการรับรู้ทางภาษาของผู้เรียน ผลของการเรียนรู้ (Output) จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวิธีการให้ปัจจัยป้อนเข้าที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ผู้เรียน
จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า ผู้เรียนจะเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่อ่านมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีการสอนของผู้สอน
 
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์  (Thorndike’s Classical Connectionism)
ทฤษฎีการเรียนรู้
ธอร์นไดค์ (ค.. 1814-1949) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูก (Ttrial and error) ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์สรุปได้ดังนี้ (Hergehahn and Olson, 1993:56-57)
1.   กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
2.   กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวรถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้
3.   กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้นได้
4.   กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่ออยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
หลักการจัดการเรียนการสอน
1.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง (เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่ถึงกับเสียเวลามากเกินไป และไม่เป็นอันตราย) จะช่วยให้ผู้เรียนการเรียนรู้ในวิธีการแก้ปัญหา จดจำการเรียนรู้ได้ดี และเกิดความภาคภูมิพร้อมของใจในการทำสิ่งต่างๆ
2.  การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เช่น การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การเชื่อมโยงความรู้เดิมมาสู่ความรู้ใหม่ การสำรวจความรู้ใหม่ การสำรวจความรู้พื้นฐาน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนบทเรียนต่อไปหรือไม่
3.  หากต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะในเรื่องใดจะต้องช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง แล้วให้ฝึกฝนโดยกระทำสิ่งนั้นบ่อยๆ แต่ควรระวังอย่าให้ถึงกับซ้ำซาก จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
4.  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อย ๆ
5.  การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตนพึงพอใจ จะช่วยให้การเยนการสอนประสบผลสำเร็จ การศึกษาวาสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า บุคคลเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วก็ย่อมที่จะพยายามหาทางเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นจะต้องอาศัยความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้เรียนจะต้องทำซ้ำ ๆ บ่อยๆ จนนำไปสู่การนำไปใช้และพึงพอใจต่อสิ่งที่ได้ทำนั้น อ่านเพิ่มเติม

Friday, October 8, 2010

การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นที่การปฏิบัติ

 แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นที่การปฏิบัติ ........http://www.onec.go.th/publication/50049/full50049.pdf

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา


แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา........http://www.onec.go.th/publication/50050/full50050.pdf